เรามานิยามคำว่า “ปัญหา” กันหน่อย
เราลองมาดูประโยคเหล่านี้กันดีกว่า
- หิวจังเลย
- อากาศเย็นจังเลยนะ
- นั่งรถไฟ ใช้เวลานานจัง
- ง่วงนอนจังเลย
- ในนี้มืดจังเลยฮะ
ลองดูว่า ประโยคไหนที่เป็นปัญหาบ้างนะ
ให้เวลาพิจารณาสักครู่
.
.
.
.
.
บางคนก็อาจจะรู้สึกว่า มันก็เป็นปัญหานะ แต่บางคนก็รู้สึกว่า ก็เรื่องปกตินี่ ไว้อย่างนี้แหละ
เช่น นั่งรถไฟ ใช้เวลานานจัง ถ้าคนมองว่ามันเป็นปัญหา เพราะว่า จะรีบไปรีบกลับ เลยว่าถ้าเดินทางด้วยรถไฟนาน อาจจะหาวิธีอื่นที่เร็วกว่า ถ้าคนที่มองว่า นั่งรถไฟ ใช้เวลานานจัง แต่ก็มีเวลาชมวิวทิวทัศน์ หรือไปกับแฟนจะได้อยู่ด้วยกันนานๆ ก็อาจะมองว่าไม่ใช่ปัญหาอะไร
จึงมีการให้นิยามว่า สิ่งที่จะเรียกว่า ปัญหา จะประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ
- current state - สถานะปัจจุบัน
- desired state - สถานะที่ต้องการ
- gap - ช่องว่าระหว่าง สถานะปัจจุบัน และ สถานะที่ต้องการ หรือ สิ่งที่จะทำให้ สถานะปัจจุบัน กลายเป็น สถานะที่ต้องการ
เดี๋ยวยกตัวอย่างเดิมก็ได้นะ
- current state => นั่งรถไฟ ใช้เวลานานจัง
- desired state => เดินทางด้วยวิธีอื่นที่เร็วกว่า นั่งรถไฟ
- gap => การนั่งเครื่องบิน คือ สิ่งที่มาอุด gap ตรงนี้ หรือก็คือ วิธีแก้ปัญหานั่นเอง
จะเห็นว่า สิ่งๆ เดียวกัน เราอาจจะมองว่าเป็นปัญหา หรือไม่เป็นปัญหา ก็ได้ ขึ้นกับว่า เราจะต้องแก้ให้มันเป็นแบบไหนเท่านั้นเองนะ คือถ้าไม่คิดจะแก้มัน มันก็ไม่เป็นปัญหาไงอะนะ
จบ…